top of page

“ลูกจ้าง – นายจ้าง” เตรียมตัว หักเงินเดือนจ่ายหนี้ “กยศ.”

ข่าวการหักเงินเดือกลูกจ้างเพื่อจ่ายหนี้ กยศ. กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง หลังจากที่ กยศ.มีหนังสือถึงหน่วยงานภาคเอกชนในการหักเงินเดือนเพื่อชำระเงินคืนกองทุน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ตามมา ข่าวมีค่า รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งสรุปให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างได้ทำความเข้าใจ เพื่อเตรียมตัวปฏิบัติตามแล้ว



ขั้นตอนฝั่งนายจ้าง

  1. รอรับหนังสือแจ้งจาก กยศ.เกี่ยวกับข้อมูลของลูกจ้างที่เป็นผู้กู้ยืมเงิน รวมทั้งจำนวนเงินที่ต้องหักนำส่ง ซึ่ง กยศ.จะส่งให้ล่วงหน้าก่อนเริ่มดำเนินการประมาณ 30 วัน

  2. ตรวจสอบข้อมูลที่ต้องหักและนำส่งเงิน ผ่านระบบรับชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาผ่านกรมสรรพากร (e-PaySLF) โดยเข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ กยศ. www.studentloan.or.th ซึ่งจะมีการปรับข้อมูลผู้กู้ยืมให้เป็นปัจจุบัน และจะแจ้งข้อมูลที่ต้องหักและนำส่งให้นายจ้างได้ทราบผ่านระบบดังกล่าว ในทุกวันที่ 5 ของเดือน

  3. ลำดับการหักเงินเดือนลูกจ้างเพื่อชำระหนี้ กยศ. จะอยู่ในลำดับที่ 3 ต่อจากลำดับที่ 1 การหักภาษี ณ ที่จ่าย และลำดับที่ 2 การหักกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคม

  4. กรณีนายจ้างไม่สามารถหักและนำส่งผ่านระบบได้ ให้แจ้งเป็นหนังสือขอเลื่อนการนำส่งเงินให้กองทุนภายใน 60 วัน

  5. กรณีลูกจ้างไม่ยินยอมให้หักเงินเดือน ให้นายจ้างแจ้งลูกจ้างให้ติดต่อกับทาง กยศ.โดยตรง


ขั้นตอนฝั่งลูกจ้าง

  1. รอรับหนังสือแจ้งหักเงินเดือน ที่กองทุนจะส่งให้ได้รับทราบข้อมูลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืมเงิน

  2. กรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถชำระเงินตามอัตราที่แจ้งได้ สามารถขอปรับลดจำนวนเงินได้ โดยแจ้งความประสงค์ขอลดจำนวนการหักเงินเดือนได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชั่น กยศ. Connect

  3. หากไม่ต้องการให้นายจ้างหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ ลูกจ้างต้องติดต่อกับทาง กยศ.โดยตรง


ที่มา :

ประชาชาติธุรกิจ : www.prachachat.net/finance/news-625000



#mekhanews #ข่าวมีค่า #SMEทันข่าว #กยศ

コメント


bottom of page